Live Blog
Live Blog
เชียงใหม่ ติดเชื้อ COVID-19 เพิ่ม 196 คน
ไทยติดโควิดเพิ่ม 1,767 คน จับตาคลัสเตอร์ ร.ร.เอกชน
สธ.ห่วง COVID-19 ระบาดในหน่วยงาน หลังสงกรานต์
เร่งสั่งเพิ่ม! โควิดระลอกใหม่ใช้ "ฟาวิพิราเวียร์" 20,000 เม็ด/วัน
ประกาศ "กรมราง" เข้มเว้นระยะห่าง - เดินรถหลัง 5 ทุ่มเท่าที่จำเป็น
ชลบุรีติดโควิดเพิ่ม 155 คน - สสจ.โอดผู้ป่วยไม่รักษาใน รพ.สนาม
Timeline
Timeline
-
18 เมษายน 2564
ศบค. แถลงไทยพบผู้ติดเชื้อใหม่ 1,767 ราย รวมผู้ติดเชื้อสะสม 42,352 ราย รักษาหายเพิ่ม 113 ราย รวมรักษาหายสะสม 28,683 ราย ผู้เสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย ผู้เสียชีวิตสะสม 101 ราย
-
17 เมษายน 2564
ศบค. แถลงไทยพบผู้ติดเชื้อใหม่ 1,547 ราย รวมผู้ติดเชื้อสะสม 40,585 ราย รักษาหายเพิ่ม 90 ราย รวมรักษาหายสะสม 28,570 ราย ผู้เสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย ผู้เสียชีวิตสะสม 99 ราย
-
16 เมษายน 2564
ศบค. ยกระดับพื้นที่ควบคุมสูงสุด 18 จังหวัด (สีแดง) และพื้นที่ควบคุม 59 จังหวัด (สีส้ม) ไม่เคอร์ฟิว ไม่ล็อกดาวน์ พร้อม 9 มาตรการควบคุม COVID-19 เริ่มใช้ 18 เม.ย. 64
-
16 เมษายน 2564
ศบค. แถลงไทยพบผู้ติดเชื้อใหม่ 1,582 ราย รวมผู้ติดเชื้อสะสม 39,038 ราย รักษาหายเพิ่ม 97 ราย รวมรักษาหายสะสม 28,480 ราย ผู้เสียชีวิตสะสม 97 ราย
LIVE แถลงสถานการณ์
Infographic
Infographic
ถาม-ตอบ COVID-19
ถาม-ตอบ COVID-19
สถานที่กักกันโรค มีอยู่ 3 รูปแบบ คือ
- Local Quarantine คือ พื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐ ระดับจังหวัด สำหรับผู้เดินทางข้ามจังหวัด
- State Quarantine คือ พื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐ สำหรับผู้เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ
- Alternative State Quarantine คือ สถานที่กักตัวทางเลือก ปัจจุบันมี 4 โรงแรม สำหรับเป็นทางเลือกให้ผู้เดินทางที่กลับมาจากต่างประเทศ ได้เฝ้าระวังสังเกตอาการ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายตามความต้องการที่เลือกไว้
ข้อมูลโดย : ดร. สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
Safety & Health Administration (SHA) คือ แนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานภาคสมัครใจสำหรับผู้ประกอบการ หรือ ข้อกำหนดเบื้องต้นที่สถานประกอบการพึงมี เพื่อป้องกัน COVID-19 ซึ่งมาจากมาตรการด้านสาธารณสุขบวกกับมาตรฐานของสินค้าทางการท่องเที่ยว
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้มีการจัดทำสัญลักษณ์ SHA เพื่อรับรองคุณภาพของสถานประกอบการนั้น ๆ โดยผู้ประกอบการต้องยื่นเรื่องขอผ่านสมาคม เช่น สมาคมโรงแรม เมื่อได้รับสัญลักษณ์แล้ว ผู้ประกอบการจะถูกประเมินโดยผู้ใช้บริการผ่านช่องทางแอปพลิเคชัน รวมถึงมีการสุ่มตรวจจากหน่วยงานภายใต้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นระยะด้วย
ข้อมูลโดย : คุณยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
อาจไม่ได้มีการตรวจสภาวะร่างกายของทั้งนักเรียน ครู เจ้าหน้าที่ ผู้ปกครอง รวมถึงผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ที่เดินทางมาที่โรงเรียน เช่น พนักงานส่งอาหาร ทำให้การเปิดเรียนเพียง 1 สัปดาห์ อาจมีผู้ป่วย COVID-19 ปะปนมา จนเกิดการฟักเชื้อและแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่น ทั้งนี้ควรนำปัจจัยนี้และปัจจัยอื่น ๆ มาศึกษา เพื่อปรับใช้กับชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ในการเปิดทำการของโรงเรียนในประเทศไทย
ข้อมูลโดย : ศ. พญ. จิรพร เหล่าธรรมทัศน์ รองอธิการบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์
New Normal หรือ ชีวิตวิถีใหม่ สิ่งที่สำคัญคือเป้าหมาย ซึ่งต้องประกอบด้วยวิธีการที่ถูกต้อง มีกรอบแนวคิดที่ถูกต้อง และต้องมีระบบการจัดการ เพื่อปรับวิธีการจัดการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การให้ทำงานจากที่บ้าน หรือ Work From Home การเลื่อมเวลาการทำงาน รวมถึงต้องมีตัววัดผลงานที่ชัดเจน ทั้งนี้ควรคงไว้ซึ่งการมีส่วนร่วม ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมอันดี การดูแลทางสังคม ทั้งหมดนี้จะเป็นการดูแลทั้งทางร่างกายและทางจิตใจอย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อผู้คนมีความสุข สุขภาพก็แข็งแรงตามไปด้วย
ข้อมูลโดย : นพ. รุ่งเรือง กิจผาติ ประธานมูลนิธิสุขภาพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข ปฏิบัติราชการ ศบค.
การเข้าใช้บริการห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า และคอมมูนิตี้มอลล์ ควรปฏิบัติ ดังนี้
- ตั้งวัตถุประสงค์ในการเดินทางไป เช่น ซื้อของใช้ที่จำเป็น รับประทานอาหารที่ร้าน เป็นต้น โดยไม่ควรใช้เวลาเกิน 2 ชั่วโมง ตามที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำ เพื่อความปลอดภัย
- เข้ารับการตรวจที่จุดคัดกรอง วัดอุณหภูมิร่างกาย
- เช็คอินผ่านแอปพลิเคชันของห้างฯ นั้น ๆ หรือสแกน QR Code ของแพลตฟอร์ม “ไทยชนะ”
- เช็คเอาท์ออกจากระบบ เพื่อให้ระบบคำนวณจำนวนผู้เข้าใช้บริการจริงในห้างฯ ตามการจำกัดจำนวนผู้เข้าใช้บริการ ในมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing)
ทั้งนี้ขณะเข้าใช้บริการห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า หรือคอมมูนิตี้มอลล์ ควรสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่างทางกายภาพ หรือยืนตามจุดที่กำหนด
ข้อมูลโดย : พญ. พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย
สามารถทำได้หลายวิธี ทั้งการฝึกฝนตัวเองและการออกกำลังกาย แบ่งออกเป็น
- การฝึกการหายใจ มีหลายวิธี แต่วิธีที่เหมาะสมกับโรคเกี่ยวกับปอด จะเป็นการหายใจโดยเน้นกะบังลม มีขั้นตอนดังนี้
– อยู่ในท่านั่ง
– นำมือข้างหนึ่งวางบนทรวงอก อีกข้างหนึ่งวางที่ใต้ลิ้นปี่
– หายใจเข้าผ่านทางจมูกให้ท้องป่อง ให้รู้สึกว่ามือข้างที่วางอยู่ใต้ลิ้นปี่มีการขยับออก
– หายใจออกช้า ๆ โดยการเป่าลมออกทางปาก - การฝึกไอ ในช่วงที่มีเสมหะเยอะ
– หายใจเข้าลึก ๆ ให้อากาศเข้าไปในปอด
– กลั้นหายใจประมาณ 1 – 2 วินาที
– ไอแรง ๆ โดยใช้แรงดันในช่องท้องเป็นแรงขับ - การออกกำลังกายในลักษณะแอโรบิก เพื่อช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและหลอดเลือดส่วนปลาย
ข้อมูลโดย : พญ.จิรภา แจ่มไพบูลย์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แนะนำเป็นการสื่อสารเชิงบวก ในลักษณะของการให้ความสำคัญกับสิ่งที่ลูกต้องการจะสื่อสาร หลังจากนั้นให้ผู้ปกครองอธิบายตามตรงว่าตอนนี้ต้องการเวลาทำงานในช่วงเวลาหนึ่ง ในระหว่างนี้ต้องการให้ลูกทำสิ่งที่ผู้ปกครองมอบหมายไปให้เสร็จเรียบร้อย แล้วค่อยมาเล่นกัน แบบนี้ก็จะเป็นวิธีที่ดีสำหรับทุกฝ่าย
ข้อมูลโดย : คุณกีรติ อ้นมั่น นักกิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
แนะนำให้แบ่งเป็น 2 ส่วน
- กิจวัตรประจำวัน
– ควรจำลองให้คล้ายกับรูปแบบชีวิตตามปกติที่เคยทำมา - กิจกรรมเสริมอื่น ๆ
– การเล่น การเคลื่อนไหว
– การทบทวนบทเรียน
– กิจกรรมร่วมกันภายในบ้าน เช่น ทำงานบ้านร่วมกันกับพ่อแม่
ข้อมูลโดย : คุณกีรติ อ้นมั่น นักกิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
กระทรวงสาธารณสุขร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วน เช่น สสส. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย องค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ (United Nations Children’s Fund – UNICEF) ในการจัดทำคู่มือแนวทางมาตรการและคำแนะนำ ในการเตรียมความพร้อมในการเปิดสถานศึกษา แบ่งเป็นส่วนมาตรการหลักและมาตรการเสริม เพื่อส่งให้บุคลากรทางการศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในหน่วยงานต่อไป ทั้งนี้เน้นการปฏิบัติแบบเหลื่อมเวลาเรียนและเรียนเป็นกลุ่มขนาดเล็ก
ข้อมูลโดย : นพ. สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. ได้มีนโยบายให้ครูและอาจารย์ เข้าไปช่วยเหลือนักเรียนที่ไม่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์สำหรับการเรียนทางไกล (On Air) ผ่าน DLTV รวมถึงหน่วยงานอาชีวศึกษาต่าง ๆ ซึ่งผู้ปกครองและนักเรียนสามารถแจ้งปัญหาผ่านทั้งโรงเรียนและหน่วยงานอาชีวศึกษาในพื้นที่ได้ทั้ง 2 ช่องทาง
ข้อมูลโดย : คุณประเสริฐ บุญเรือง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ในกรณีโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในอัตราสูง และไม่สามารถเปิดทำการเรียนการสอนได้ตามปกติ กระทรวงศึกษาธิการได้มีมาตรการ ดังนี้
- หมุนเวียนวันเรียนในแต่ละชั้นเรียน
- เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลภายในห้องเรียน ลดจำนวนนักเรียนในหนึ่งห้องเรียนให้น้อยลง
- ให้นักเรียนเรียนทางไกล (On Air) ผ่าน DLTV และเรียนออนไลน์ (Online) ในวันที่ไม่มีเรียนที่โรงเรียน
ข้อมูลโดย : คุณประเสริฐ บุญเรือง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ได้รับเสียงสะท้อนจากนักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง ในเรื่องความพร้อมของแต่ละบุคคลที่มีไม่เท่ากัน กระกรวงศึกษาธิการจึงได้มีนโยบายแบ่งการเรียนการสอนออกเป็น 3 รูปแบบ คือ
- การเรียนในห้องเรียน (On Site)
- การเรียนทางไกล (On Air)
- การเรียนออนไลน์ (Online)
ทั้งนี้อุปกรณ์ต่าง ๆ นักเรียนและผู้ปกครองอาจไม่มีความพร้อม ซึ่งกระกรวงศึกษาธิการจะได้พิจารณาแนวทางแก้ไขให้เหมาะสมตามแต่ละสถานที่และบุคคลต่อไป รวมถึงอยู่ในขั้นตอนขออนุมัติจ้างครูช่วยสอนสำหรับชั้นอนุบาล จำนวน 16,000 ตำแหน่ง นักเรียนและผู้ปกครองไม่จำเป็นจะต้องหาอุปกรณ์เพิ่มเติมในตอนนี้
สำหรับการเปิดเรียนในวันที่ 1 ก.ค. 63 นี้ จะพิจารณาโดยคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยของสถานการณ์ในจังหวัดนั้น ๆ โดยมีโรงเรียนที่สามารถเปิดการเรียนการสอนได้แน่นอน 80 % สำหรับ 20 % ที่เป็นพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในอัตราสูง เช่น กทม. นนทบุรี ปทุมธานี ภูเก็ต และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อาจต้องมีทั้งการเรียนทางไกล (On Air) ผ่าน DLTV และเรียนออนไลน์ (Online) เพื่อลดความแออัดของนักเรียนที่ยังจำเป็นต้องเรียนในห้องเรียน เนื่องจากขาดแคลนอุปกรณ์ในการเรียนแบบอื่น ๆ
ข้อมูลโดย : คุณประเสริฐ บุญเรือง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้พิจารณาจากมาตรการการควบคุมโรค ซึ่งต้องเปิดการท่องเที่ยวอย่างเป็นขั้นเป็นตอนด้วยความระมัดระวัง โดยแบ่งระยะการเปิดการท่องเที่ยวออกเป็น 3 ระยะ คือ
- ระยะเตรียมพร้อม หลังจากมีการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ของรัฐ เน้นเรื่องการฟื้นฟูและสร้างแนวปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการ 10 ประเภทกิจการ เรียกว่า Safety & Health Administration (SHA) ซึ่งเป็นมาตรการด้านสาธารณสุขบวกกับมาตรฐานของสินค้าทางการท่องเที่ยว
- ระยะเปิดเมืองหรือประเทศ แบบจำกัดพื้นที่ เช่น พื้นที่ที่ไม่มีการแพร่ระบาด พื้นที่ที่ไม่มีผู้ป่วยในช่วง 28 วัน
- ระยะยาว โดยเปิดให้มีการท่องเที่ยวภายใต้ชีวิตวิถีใหม่
ข้อมูลโดย : คุณยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย